หากสงสัยว่าตนเองเป็นวัณโรค ควรสังเกตอาการและสัญญาณของวัณโรค ดังต่อไปนี้:
● ไอแรงเป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ขึ้นไป
● เหงื่อออกมากตอนกลางคืน
● ไอเป็นเลือด หรือมีเสมหะ
● เจ็บหน้าอก
● รู้สึกเหนื่อยล้า
● น้ำหนักลด ไม่อยากอาหาร
● ไข้และหนาวสั่น
แพทย์อาจทดสอบทางผิวหนัง หรือตรวจเลือดเพื่อวิเคราะห์วัณโรค และส่งตัวอย่างเสมหะเพื่อการเพาะเชื้อและวินิจฉัยวัณโรคได้อย่างชัดเจน
จะรู้ได้อย่างไรว่าวัณโรครักษาหายไหม วัณโรคเข้าสู่ระยะติดต่อได้อย่างไร
การรักษาวัณโรคทั้งระยะติดเชื้อ ระยะแสดงอาการ และระยะวัณโรคแฝงเกี่ยวข้องกับการใช้ยาต้านวัณโรคหลายชนิด (เช่น isoniazid [Nydrazid, Laniazid, INH], rifampin [Rifadin], rifapentine [Priftin], ethambutol [Myambutol], pyrazinamide) ซึ่งมักต้องใช้ในการรักษาร่วมกันนาน 6 – 9 เดือน แพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเป็นรายบุคคล เนื่องจากแบคทีเรียบางสายพันธุ์อาจดื้อยาบางชนิดได้ บางคนอาจไม่เป็นพาหะของโรคหลังจากรักษาด้วยยาไปประมาณ 2 สัปดาห์ หรือในระหว่างการรักษา แต่นักวิจัยบางคนแนะนำว่าอาจต้องใช้เวลานานกว่านั้น (เป็นเดือน) จนกว่าผู้ป่วยจะไม่สามารถเป็นพาหะของโรคได้ อาการที่ลดลงหรือไม่แสดงอาการ อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะอาจไม่เป็นพาหะของโรคได้ แต่ก็ไม่แน่นอนเสมอไป
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
● https://www.webmd.com/lung/understanding-tuberculosis-basics
● https://www.cdc.gov/tb/topic/basics/default.htm
● https://www.nhs.uk/conditions/tuberculosis-tb/