แม้ว่าร่างกายของบางคนจะได้รับเชื้อแบคทีเรียวัณโรคได้ แต่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะสามารถป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยได้ ด้วยเหตุนี้แพทย์จึงให้ความแตกต่างระหว่าง:
วัณโรคแฝง ผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรค แต่เชื้อไม่ทำงานและไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ วัณโรคแฝงหรือวัณโรคที่ไม่แสดงอาการ เป็นการติดเชื้อวัณโรคที่ไม่ติดต่อ แต่วัณโรคที่แฝงตัวอยู่สามารถแสดงอาการได้ทุกเมื่อ จึงควรเข้ารับการรักษา
วัณโรคที่แสดงอาการ เรียกผู้ป่วยวัณโรค ในกรณีผู้ป่วยส่วนมากจะเป็นพาหะแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ อาจมีอาการได้นานหลายสัปดาห์ หรือเป็นปีหลังจากได้รับเชื้อแบคทีเรียวัณโรค
สัญญาณและอาการของวัณโรคที่แสดงอาการ ได้แก่ :
● ไอติดต่อกันนนาน 3 สัปดาห์ขึ้นไป
● ไอเป็นเลือดหรือมีมูกปะปน
● เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกปวดเวลาหายใจหรือไอ
● น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
● เหนื่อยล้า
● ไข้
● เหงื่อออกมากตอนกลางคืน
● หนาวสั่น
● สูญเสียความอยากอาหาร
วัณโรคอาจส่งผลต่อส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ไต กระดูกสันหลัง หรือสมอง การแสดงอาการของวัณโรคนอกปอดอาจแตกต่างกันไปตามอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น วัณโรคกระดูกสันหลังอาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง และวัณโรคที่ไตอาจทำให้ปัสสาวะเป็นเลือด
เมื่อใดมี่ควรไปพบแพทย์
ควรไปพบแพทย์หากผู้ป่วยมีไข้ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เหงื่อออกมากตอนกลางคืน หรือมีอาการไอติดต่อกันนาน ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนบ่งชี้ถึงอาการของวัณโรค แต่ก็อาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้เช่นกัน จึงควรไปพบแพทย์ในกรณีที่คิดว่าเคยสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคมาก่อน
ผู้ที่มีความเสี่ยงเพิ่มในการติดเชื้อวัณโรคที่แฝงอยู่ ได้แก่ผู้ที่:
● มีเชื้อเอชไอวี / เอดส์
● ใช้ยา IV
● ติดต่อใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ
● มาจากประเทศที่พบวัณโรคบ่อย ๆ เช่นประเทศในแถบละตินอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย
● อาศัยหรือทำงานในพื้นที่ที่พบวัณโรคได้บ่อย เช่นเรือนจำ หรือสถานพยาบาล
● ทำงานด้านการดูแลสุขภาพ และรักษาผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อวัณโรค
● เป็นเด็กที่สัมผัสกับผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงเป็นวัณโรค
ผู้ป่วยวัณโรคมักแพร่เชื้อไปยังผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้ทุกวัน ซึ่งรวมถึงสมาชิกในครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนร่วมห้องเรียน
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
● https://www.webmd.com/lung/understanding-tuberculosis-basics
● https://www.cdc.gov/tb/topic/basics/default.htm
● https://www.nhs.uk/conditions/tuberculosis-tb/